ประณีตและงดงามเกินกว่าจะเรียกว่า หิ้งพระ พิมพ์

 

บัลลังก์โชค ที่สุดแห่งการบูชา

แล้ว...คุณจะพบหิ้งพระที่เป็นสิริมงคล และควรคู่กับบ้านของคุณ

หิ้งพระ

 

หิ้งพระ

หรือที่ประดิษฐานตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คงไม่ได้เน้นเรื่องการออกแบบรูปทรงให้สวยงามเพียงอย่างเดียว ยังมีรายละเอียดที่ควรใส่ใจ และไม่ควรมองข้ามไป จากความตั้งใจที่ผมอยากจะทำ หิ้งพระ สมัยใหม่ ที่เน้นการออกแบบที่แตกต่างจากท้องตลาดเพียงอย่างเดียว หลังจากทำต้นแบบเสร็จ ได้ไปพบอาจารย์ที่ผมเคารพนับถือ ท่านบอกว่า "สิ่งที่เห็นไม่ได้เรียกว่า หิ้งพระ แต่เรียกว่า บัลลังก์" จึงเป็นที่มาของคำว่า บัลลังก์โชค ท่านอาจารย์ยังได้แนะนำให้ไปศึกษาพุทธประวัติเพิ่มเติม พบว่ามีหลายอย่างที่น่าสนใจ และคิดว่าควรเก็บรายละเอียดตรงนั้นมาทำการออกแบบและสร้าง หิ้งพระ ในรูปแบบของ บัลลังก์โชค ให้สมกับที่พระพุทธองค์ทรงเพียรพยายามสร้างสิ่งที่ล้ำค่าและมีคุโณปการมากมายเหลือล้นต่อมวลมนุษยชาติ

โต๊ะหมู่บูชา

ประเด็นที่แตกต่างมีดังนี้

 

1. หิ้งพระ ต้องไม่มีรั้วหรือขอบด้านบน

  • การไม่มีรั้วหรือขอบด้านบน เปรียบได้กับสถิตย์อยู่บนสวรรค์วิมาน ไม่มีอาณาเขต
  • การที่มีรั้วด้านบน ทำให้การถวายของบูชาทำได้ไม่สะดวก ไม่ว่าจะตอนถวายหรือตอนลาของบูชา

  • การที่มีรั้วด้านบน จะเป็นเหมือนเสา มีการใส่ลวดลายให้เกิดการเว้าโค้งเพื่อความสวยงาม เวลาทำความสะอาดจะทำได้ยาก และเสียเวลามาก จึงทำความสะอาดได้ไม่บ่อย และไม่อยากทำ ทำให้เกิดการสะสมของฝุ่น อันเป็นสาเหตุของการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับฝุ่น

 

หิ้งพระ1

 

2. ยกระดับในจุดที่วางองค์พระ

  • เป็นการให้ความเคารพต่อองค์พระที่บูชา ไม่อยู่ในระดับเดียวกับที่วางของบูชา

  • ถ้า หิ้งพระ มีระดับเดียว เวลาถวายของบูชา จะไปบดบังองค์พระ

 

หิ้งพระ

 

3. หิ้งพระ ต้องไม่มีฉากหรือขาค้ำยื่นลงมา

  • ให้ความรู้สึก เหมือนปาฏิหาริย์ว่าองค์พระและบัลลังก์กำลังลอยอยู่
  • การที่มีฉากหรือขาค้ำยื่นลงมา กรณีนำไปติดเหนือวงกบประตู หน้าต่าง หรือพื้นที่ไม่สูงมากนักจะทำไม่ได้ ต้องติดสูงขึ้นไปทำให้เหลือพื้นที่ด้านบนน้อย เวลาวางองค์พระ จะทำให้ดูอึดอัด ไม่สวยงาม

  • การนำเอาฉากหรือขาค้ำออก จะทำให้ดูเหมือนเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ซึ่งทำให้เกิดความสวยงามเวลานำไปติดตั้ง

  • สามารถวางบนหลังตู้ หรือชั้นต่างๆได้ กรณีไม่สะดวกในการติดกับผนัง

 

หิ้งพระ

 

4. ขนาดความสูง อิงตามพุทธประวัติ

  • จากการศึกษาพุทธประวัติ ขนาดของพุทธบัลลังก์ บางทีเรียกว่ารัตนบัลลังก์ จะพบข้อมูลในเนื้อหาของ ความแตกต่างของพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 8 อย่าง ดังนี้

    • อายุ : จำนวนพระชมมายุของพระพุทธเจ้า เริ่มจากหลัก ร้อยปี หมื่นปี ไปถึงแสนปีเป็นต้น

      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระชนมายุ 80 ปี

    • ปมาณ : ความสูงพระวรกายของพระพุทธองค์
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีความสูง 18 ศอก
    • ตระกูล: การเกิดในตระกูลที่ต่างกัน บางพระองค์เกิดในตระกูลกษัตริย์ บางพระองค์เกิดในตระกูลพราหมณ์
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน เกิดในตระกูลกษัตริย์ที่พระนครกบิลพัสดุ์
      • พระเจ้าสุทโธทนะ พระราชบิดา
      • พระนางสิริมหามายาเทวี พระราชมารดา
      • พระนางยโสธรา พระมเหสี
      • ราหุลกุมาร พระโอรส

 

หิ้งพระ

 

    • ปธาน : การบำเพ็ญเพียรในชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ถึง 6 ปี
    • พระรัศมี : พระรัศมีที่แผ่ออกไปโดยรอบพระวรกาย
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระรัศมีแผ่ไปโดยรอบประมาณ 1 วา
    • ยาน: พระราชพาหนะที่ใช้ในวันออกบวช
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพระราชพาหนะคือม้า
    • โพธิพฤกษ์: ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทรงนั่งบำเพ็ญเพียรในวันตรัสรู้
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทรงประทับใต้ต้นไม้ชื่อ อัสสัตถะ หรือ ต้นโพธิ์
    • บัลลังก์: ขนาดของที่ประทับในวันตรัสรู้
      • พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน มีพุทธบัลลังก์ สูง 14 ศอก
  • สรุปได้ว่าตามพุทธประวัติ พระพุทธเจ้าสูง 18 ศอก ส่วนพุทธบัลลังก์สูง 14 ศอก ทางบัลลังก์โชค ได้ใช้ตัวเลขอันเป็นมงคลในความสูงของพุทธบัลลังก์มาช่วยในการออกแบบ นั่นก็คือ ความสูง 14 ซม. (1 ศอก เท่ากับ 0.5 เมตร)

 

หิ้งพระ

 

5. ขนาดความกว้างและลึก อิงตามหลักฮวงจุ้ย

  • ตามพุทธประวัติ จะค้นพบข้อมูลของพุทธบัลลังก์ว่าด้วยเรื่องความสูงเพียงอย่างเดียว คือ 14 ศอก ส่วนความกว้างระบุไว้แค่ตอนหนึ่งว่า
    " ในช่วงพรรษาที่ 7 พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ (หรือ บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์) ในดาวดึงส์เทวโลก เพื่อตรัสพระธรรมเทศนา อภิธรรม 7 คัมภีร์ โปรดพระพุทธมารดา ซึ่งปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์เป็นที่ประทับของ ท้าวสักกเทวราช หรือพระอินทร์ มีขนาดยาว 60 โยชน์ กว้าง 50 โยชน์ สูง 15 โยชน์ ซึ่งมีขนาดใหญ่มากๆ พระพุทธองค์ได้ใช้จีวรปูลาดลงไปบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ แล้วทรงประทับบนปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ตลอดระยะเวลาการจำพรรษา" (1 โยชน์ เท่ากับ 16 กิโลเมตร)

หิ้งพระ

 

  • จากจุดนี้เราจะพบว่า พุทธบัลลังก์ของพระพุทธเจ้า ไม่ได้บอกขนาดของปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์หลังจากทรงประทับแล้วว่ามีขนาดกว้าง ยาวเท่าไร นั่นสามารถสื่อได้อีกนัยหนึ่งว่า บัลลังก์ของพระพุทธเจ้า ขนาดนั้นหาที่สุดประมาณไม่ได้ พระพุทธองค์จะประทับตรงไหนก็พอเหมาะพอดีนั่นเอง

  • เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลสำหรับผู้บูชายิ่งๆขึ้นไป จึงอาศัยหลักมาตรวัดใน ฮวงจุ้ย มาช่วยในการกำหนดขนาด เพื่อให้เกิดมงคลในการเสริมดวงชะตา ต่อผู้บูชาเป็นสำคัญ

 

หิ้งพระ

 

6. ศาสตร์ในการจัดตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่ทำให้เกิดความมั่นคงและเจริญ

  • การ ลดมุม เข้ามุม และย่อมุมนั้น ถือเป็นศิลปกรรมไทยที่งดงาม จัดว่าเป็นของสูง จึงพบเห็นงานเหล่านี้ได้ตามศาสนสถาน หรือพระราชวัง ตามคตินิยมโบราณถือว่า ของงาม ของสูง เหมาะกับคนชั้นสูง หรืออีกนัยหนึ่ง คนโบราณต้องการสร้างเพื่อฝากไว้กับพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นพุทธบูชา หรือเพื่อถวายแด่พระมหากษัตริย์

 

โต๊ะหมู่บูชา

 

โต๊ะหมู่บูชา หรือแท่นพระ ทรงปิรามิด แบบที่ 1

จัดวางได้ทั้งภายใน ห้องพระ หรือบริเวณที่เหมาะสม

 

  • ด้วยอิทธิพลการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้ศิลปะและสถาปัตยกรรมของไทยส่วนใหญ่รับมาจากทางอินเดีย และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีต้นกำเนิดมาจากทางศาสนาพราหม์-ฮินดูเช่นเดียวกัน ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูถือเป็นหนึ่งในเรื่องของพระเวท ยันตรา (ยันต์) มนตรา (มนต์) โดยเป็นศิลปแขนงหนึ่งใน 18 แขนงที่พระพุทธเจ้าได้ทรงศึกษาก่อนที่จะตรัสรู้

 

หิ้งพระ บัลลังก์โชค

ศรียันตรา (Sri Yantra) ในศาสนาฮินดูแสดงถึงลายเส้นการย่อมุม การลดมุม และรูปสามเหลี่ยมตัดกันไปมา เพื่อสะท้อนธาตุพลังจักรวาลและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เชื่อว่ามีพลังแฝงอยู่ในยันตราแบบนี้

(เครดิตภาพ http://www.jmeditate.com/lessons/yantras.html)

 

 

 

 

หิ้งพระ บัลลังก์โชค

ในพุทธศาสนา (Medicine Buddha Yantra) พบเค้าโครงของลายเส้นที่คล้ายกัน ในรายละเอียดของภาพจะพบการย่อมุมลดชั้นรายล้อมอยู่รอบๆจำนวนมาก ของจริงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ Buryatia ในประเทศรัสเซีย (The History Museum of Buryatia in Russia.)

(เครดิตภาพ http://www.jmeditate.com/lessons/yantras.html http://www.himalayanart.org/image.cfm/74273.html)

 

  • สำหรับการย่อมุมในศาสตร์ของพราหมณ์-ฮินดูนั้น เป็นการสะท้อนธาตุในพลังของจักรวาลหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาประดิษฐานเพื่อให้เสริมและส่งพลังกันขึ้นไป ถือเป็นความลับในการจัดตั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นำมาประดิษฐานให้เกิดความมั่นคงและเจริญ

 

หิ้งพระ

 

  • ในการสร้าง หิ้งพระ ไม่ต่างอะไรจากการสร้างพระธาตุเจดีย์ (ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) เพราะปัจจุบันเราหาได้แต่พระพุทธรูป ถือเป็นตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกับพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นที่ประดิษฐานตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ว่าจะเป็น หิ้งพระ หรือโต๊ะหมู่บูชา ก็ต้องใช้หลักการ ลดมุม เข้ามุม หรือย่อมุม เช่นกัน

ฐานพระ

 

7. เสริมพลังด้วยชื่อสื่อความหมาย

  • ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนต้องมีชื่อ มีสมญานาม เพื่อใช้ในการ สื่อสาร สื่อความหมาย ยิ่งชื่อนั้นมีความหมายในทางมงคลยิ่งดีนักแล

 

โต๊ะหมู่บูชา

 

โต๊ะหมู่บูชา หรือแท่นพระ ทรงปิรามิดผสมโต๊ะหมู่ 8 แบบที่ 2

จัดวางได้ทั้งภายใน ห้องพระ หรือบริเวณที่เหมาะสม

 

8. สวยงาม ล้ำค่า ทันสมัย แต่ยังคงเอกลักษณ์แบบไทยๆ

  • บัลลังก์โชค ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์การออกแบบบนพื้นฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาแบบไทย ที่เชื่อมโยงกับความคิดและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อให้ได้พุทธบัลลังก์ (บัลลังก์พระพุทธเจ้า) หรือ หิ้งพระ สมัยใหม่ ที่มีคุณลักษณะโดดเด่น และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวขึ้น โดยอาศัยการย่อมุมไม้ 12 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยอยุธยา มาประยุกต์เข้ากับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์สมัยใหม่ โดยประกอบเข้า ด้วยไม้ที่ถูกตัดอย่างปราณีตทั้งภายนอกและภายใน จำนวน 100-300 ชิ้น ขึ้นอยู่กับขนาดและรูปแบบ สามารถใช้ได้ทั้งแบบติดผนัง และแบบวางได้อย่างลงตัว

 

แท่นพระประธาน

 

แท่นพระประธาน ประทับพระพุทธมหาเศรษฐี ณ วัดแม่ย่าซอม อ.คลองหาด จ.สระแก้ว

 

9. จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

  • ด้วยการฉีกกฎการดีไซน์ในรูปแบบเดิมๆ และหาจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ทางบัลลังก์โชค ได้จดสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ ผู้ซื้อภูมิใจได้ว่า นี่คือสินค้าอีกชิ้นหนึ่งที่เป็นนวัตกรรม ทางปัญญา ของคนไทย ขณะนี้ รอรับสิทธิบัตรคำขอเลขที่ 1102001111
  • จากที่กล่าวมาทั้งหมด หิ้งพระ บัลลังก์โชค เป็นงานฝีมือ ที่ต้องใช้ความประณีตและพิถีพิถันในการสร้างแต่ละชิ้นขึ้นมา เสมือนว่างานแต่ละชิ้นเป็นชิ้นเดียวในโลกก็ว่าได้ ถึงแม้ในช่วงการผลิตจะต้องใช้เครื่องจักรในบางขั้นตอน ก็เพื่อว่าให้งานออกมามีมาตรฐานในการผลิต ซึ่งแต่ละชิ้นงานใช้เวลาในการผลิต 5-10 วันขึ้นอยู่กับแบบและความยากง่าย

 

หิ้งพระ

 


" ผู้ที่ชื่นชอบบูชา และกราบไหว้พระ เป็นบุคคลที่มีความละอายต่อบาปในเบื้องต้น

บุคคลเหล่านี้เมื่อมีความเกรงกลัวตัวบาปแล้ว ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

ที่จะขัดเกลาความหยาบกระด้างภายในจิตใจให้สูงขึ้นไป "

 

" ผู้ที่ขัดเกลาจิตด้วยความประณีตอย่างสม่ำเสมอแล้ว

ย่อมจะมีความประณีตเป็นพื้นฐาน

ย่อมจะเลือกสร้างพระปฏิมาให้งดงามประณีต

และย่อมจะเลือกเครื่องสักการะบูชาให้มีความประณีตเป็นธรรมดา "


 

เหมาะสำหรับ
ท่านที่มีพื้นที่จำกัด โดยไม่สามารถมี ห้องพระ เพื่อนำโต๊ะหมู่บูชา มาตั้งได้ เช่นห้องผู้บริหาร อาคารสำนักงาน คอนโด บ้านพักอาศัย เป็นต้น หรือใช้เป็นของขวัญสำหรับงานขึ้นบ้านใหม่ รับตำแหน่งใหม่ และองค์พระหรือองค์เทวะที่ต้องการเน้นบูชาเป็นพิเศษ

สนใจผลิตภัณฑ์ คลิ๊กที่นี่

เพราะ บัลลังก์โชค คือ ที่สุด...แห่งการบูชา